อุทยานวิทยาศาสตร์ พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ หรือพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

อุทยานวิทยาศาสตร์

อุทยานวิทยาศาสตร์ พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ  อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

อุทยานวิทยาศาสตร์ พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ วันนี้เราจะมาพูดถึง อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ หรือพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอนั้นเอง ซึ่งจะพาเพื่อนๆมาเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่อยู่รอบตัวเรา และวิทยาศาสตร์อื่นๆอีก ถ้าพูดถึงเรื่องวิทยาศาสตร์แล้ว สิ่งที่ต้องนึกถึง คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านคือบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อนๆคงกำลังอยากรู้ว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ คือ อะไร มีลักษณะเป็นยังไง ตั้งอยู่ที่ไหน เราจะพาไปหาคำตอบกันค่ะ อุทยานแห่งนี้ ตั้งอยู่ในตำบลคลองวาฬ ห่างจากตัวเมืองประจวบไปทางทิศใต้ประมาณ 12 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวม 485 ไร่ พื้นที่ทางด้านตะวันออกถูกขนาบไปด้วยทะเลอ่าวไทย แบบที่เดินเล่นเสร็จ ก็สามารถมานั่งพักทานข้าวริมหาดได้

ส่วนแรกในตัวของอาคาร คือ ดาราทัศนีย์ ซึ่งถ้าใครได้มาที่นี่ แล้วอยากจะทราบว่าทางเข้าจุดแรกอยู่ตรงไหน ที่นี่ก็สบายแล้วก็ง่ายมาก ทางเข้าจะมีจุดที่เขียนว่า “ จุดเริ่มต้น START ชมนิทรรศการ ” และมีลูกศรสีเหลือง ติดอยู่ที่พื้น ชี้บอกทางอย่างชัดเจน

ในอดีต หว้ากอ เคยเป็นสถานที่ ที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหามงกุฎ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงคำนวณไว้ว่าจะเกิด สุริยุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 และก็ทรงเป็นไปตามที่คาดคะเนไว้ทุกอย่าง จนสถาปนาให้เป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ แห่งนี้ จึงได้รวมกันสร้างพระบรมอนุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นมานั้นเอง

ที่นี่สร้างเป็นแบบ 2 อาคารแฝดติดกัน เป็น “ อาคารพันพินิจจันทรา ” และ “ อาคารดาราทัศนีย์ “ สามารถเดินเชื่อมกันได้ทั้งตึก ก่อนจะเข้าไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เรามาเริ่มจากห้องพระบิดาวิทยาศาสตร์ไทย

อุทยานวิทยาศาสตร์

ห้องนี้ก็จะมีหุ่นขี้ผึ้งจำลอง ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหามงกุฎ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 อยู่ด้านใน เป็นห้องที่ได้รวบรวมอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ส่วนพระองค์ อย่างลูกโลกราชบรรณาการ โต๊ะทรงงาน กล้องโทรทรรศน์ นาฬิกาที่ใช้จับเวลา รวมไปถึงแผนที่ดาว ถือเป็นอีกสิ่งที่ทำให้เราได้รู้จักกับบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยนั้นเอง

  • ลูกโลกราชบรรณาการ ของสมเด็จพระราชินีวิกตอเรีย แห่งประเทศอังกฤษ ทรงให้ทูตอังกฤษ นำมาถวายแด่สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจำลองได้เหมือนของจริง และเป็นของในสมัยยุคนั้นจริงๆ
  • โต๊ะทรงคำนวณ ซึ่งโต๊ะนี้พระองค์ท่านใช้ทรงงาน คำนวณในเรื่องของดาราศาสตร์ต่างๆ โต๊ะนี้ก็จะออกแบบมาเพื่อให้วาดเขียนได้ง่าย คล้ายเป็นกระดานชนวน
  • กล้องโทรศัพท์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นกล่องแบบหักแสง เลนส์จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร เป็นกล้องส่วนพระองค์ของท่านนั้นเอง
  • นาฬิกาในการจับเวลาของพระองค์ท่าน เป็นนาฬิกาที่บอกเวลาเป็นชั่วโมง นาที และวินาที ซึ่งตัวจริงของนาฬิกาเรือนนี้ ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ในกรุงเทพมหานครนั้นเอง
  • กระดานปักขคณนา กระดานนี้พระองค์ท่านใช้คำนวณปักษ์ เพื่อกำหนดวันธรรมสวนะ ให้ตรงตามเรื่องของพระจันทร์ ของเสี้ยวพระจันทร์ พระจันทร์เต็มดวง พระจันทร์เสี้ยว ที่พระองค์ท่านได้กำหนดไว้ กระดานนี้ของจริงเก็บไว้ที่ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
  • แผนที่ดาว ซึ่งพระองค์ท่านได้ใช้แผนที่ดาว ใช้คำนวณหาเส้นรุ้ง และเส้นแวง

หลังจากนี้ก็ถึงเวลาไปท่องโลกท้องทะเล และมาชมฝูงสัตว์น้ำมากมาย ทั้งมีพิษและไม่มีพิษ
ทะเลเป็นระบบนิเวศน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีความใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ ถึง 3 ใน 4 ส่วนของโลก ซึ่งถือว่าเป็นระบบนิเวศน์ ที่สามารถพบเห็นสิ่งมีชีวิตมากถึงมากที่สุดจนแทบนับไม่ได้กันเลยทีเดียว

จะมีปลาเศรษฐกิจของไทย มีปลากะมง และปลากะพงขาว และอีกหนึ่งปลาที่มีความสวยงามมากๆ เวลาที่เราไปดำน้ำใต้ท้องทะเล เราก็จะเจอปลาตัวนี้คือ ปลาสิงโต แต่ที่สำคัญเลย อย่าเข้าไปใกล้ อย่าไปจับ อย่าไปสัมผัสเขาเด็ดขาด เพราะตรงครีบของมัน ที่มีลักษณะเป็นเหมือนปีกและเป็นหนามๆ จะมีพิษ

ความงามใต้ท้องทะเลบางอย่าง ก็ควรเอาไว้ดูอย่างเดียวก็พอ อีกหนึ่งอย่าง เป็นปลาที่เราเคยได้ยินชื่อมาตั้งแต่เด็กจนโตกันเลย นั้นก็คือ ปลาปักเป้า เป็นปลาที่ไม่ควรรับประทาน เพราะปลาปักเป้ามีพิษร้ายแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ซึ่งอันตรายมาก

ซึ่งระบบนิเวศน์ทางทะเลนั้น จะแตกต่างจากระบบนิเวศน์น้ำจืด ที่ปริมาณสารละลายในน้ำ โดยจะมีปริมาณของเกลือโซเดียม และคลอลีน ละลายอยู่มากถึง 85% ทำให้น้ำทะเลมีความเค็มเฉลี่ย 35 ส่วน ในล้านล้านส่วน ทั้งนี้ความเค็มที่เกิดขึ้นทั้งหมด จะแตกต่างกันไปตามระบบนิเวศทางทะเลที่ต่างกัน

อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ

อีกหนึ่งระบบนิเวศน์ที่เราไม่ควรเพิกเฉยก็คือ ระบบนิเวศน์แนวปะการัง เป็นระบบนิเวศทางทะเลที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นจำนวนมาก เนื่องจากแนวปะการัง เป็นที่สำหรับสัตว์น้ำอนุบาลตัวอ่อน ใช้เป็นที่อยู่อาศัย หลบภัย วางไข่ ผสมพันธุ์ และที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์นานาชนิด เช่น เต่าทะเล หมึก กุ้ง หอย ปลา เป็นต้น

ซึ่งในตู้ที่พิพิธภัณฑ์ มีตู้ที่มีระบบนิเวศน์แนวปะการัง มีปลาผีเสื้อลายข้าง ปลาผีเสื้อลายจุด และมีปลาที่น่ารักที่สุด อย่างปลาการ์ตูนอีกด้วย หรือที่คนมักจะเรียกว่า นีโม มีหลายลาย ทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก ปลาพวกนี้ก็จะอาศัยและหากินอยู่แถวแนวปะการัง

และสุดท้ายระบบนิเวศน์ที่หญ้าทะเล เป็นบริเวณชายฝั่ง ที่มีลักษณะพื้นดินเป็นโคลนบนทราย และมีน้ำลึกประมาณ 1-3 เมตร เพราะระบบนิเวศนี้ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อปริมาณสัตว์น้ำ และความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล นอกจากนี้ยังให้ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ จากการทำประมงอีกด้วย

เมื่อทราบแบบนี้แล้ว เวลาที่เราไปดำน้ำดูปะการัง ก็ไม่ควรที่จะไปทำร้ายเขานะคะ ดูแต่ตามืออย่าจับเดี๋ยวของมันจะเสียนะคะ ระบบนิเวศทางทะเลควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะสวยงามแล้ว ยังเป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับการค้นพบสิ่งใหม่ๆอีกด้วย

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ

ในตู้ที่พิพิธภัณฑ์ ก็จะมีการจำลองทะเลฝั่งอันดามัน และฝั่งอ่าวไทยอีกด้วย เป็นภาพใต้ท้องทะเลที่สวยงามมาก ที่เพื่อนๆไม่ควรพลาดที่จะไปเยี่ยมชมสักครั้งในชีวิต เราชมทะเลน้ำตื้นกันไปแล้ว ต่อไปเราดำดิ่งมาดูทะเลน้ำลึกกันบ้าง

มาที่นี่ ถือว่าเหมือนมาเปิดโลกใต้ทะเลลึก ซึ่งมีสัตว์ทะเลขนาดใหญ่มากมาย ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ ก็ได้มีการจำลองทะเลลึก โดยการใช้ตู้ปลายักษ์ ที่ค้นเอาปลาทะเลลึกมากมายหลายสายพันธุ์ ทั้งตัวใหญ่ ตัวเล็ก ให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม ได้เข้าถึงปลาทะเลน้ำลึก แบบที่จะสัมผัสกันได้เลย ทำให้รู้สึกเหมือนว่า กำลังเดินอยู่ในโลกของทะเลลึกยังไงอย่างงั้นเลยล่ะ

ปลาทะเลลึก ก็คือ ปลาที่พบได้ในช่วงทะเลที่แสงแดดส่องผ่านไปไม่ถึงนั้นเอง ซึ่งจากการสำรวจปลาทะเลลึกนั้น จะมีจำนวนคิดเป็นแค่ 2% จากสายพันธุ์ และสิ่งมีชีวิตในโลกใต้ทะเลทั้งหมด โดยทั่วไปปลาทะเลลึก จะพบได้ทั่วไปในความลึก 1,000-4,000 เมตร หรือบางชนิดอาจอยู่ได้ลึกถึง 4,000-6,000 เมตร เลยทีเดียว

ขึ้นอยู่กับสถานที่นั้นด้วยว่า มีแหล่งผลิตออกซิเจนหรือไม่ อีกทั้งยังมี แรงกดดันของน้ำจำนวนมหาศาล ระหว่าง 20-1,000 เท่า ของบรรยากาศชั้นบน ซึ่งแน่นอนว่ามนุษย์ทั่วไป แค่เจอความลึกธรรมดาหูก็อื้อกันแล้ว

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้อกอ ยังมีอุโมงค์ ที่เห็นวิวทะเล และสัตว์ทะเล ถึง 180 องศา ปลาทะเลลึกนั้น จะมีการปรับตัวให้ใช้พลังงานน้อยที่สุด ขนาดเล็กที่สุด แต่จะมีปากที่ใหญ่ เพียงเพื่อจะได้เหยื่อที่ตัวใหญ่ และย่อยได้นานๆ

แต่ถึงอย่างนั้น โครงสร้างทางกายภาพ เช่น การหายใจก็ยังคงเหมือนปลาทะเลทั่วไป แต่ก็จะมีการวิวัฒนาการแปลกๆ เพื่อให้พวกมันสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งปลาทะเลส่วนใหญ่ ก็จะหาอาหารจากซากสัตว์ ที่ตายจากด้านบนนั้นเอง

ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ มีตั้งแต่เดินป่าอยู่บนบก จนมาถึงระบบนิเวศทะเลน้ำลึก เรียกได้ว่าครบเครื่องเรื่องท่องเที่ยวจริงๆ น่ามาเที่ยวมากๆ อย่างไรก็ตาม ก็อยากให้ทุกคนตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ดูแลธรรมชาติ ปกป้องความสวยงามทางทะเล ท่องเที่ยวกันอย่างมีวินัย เพื่อให้ความสวยงามที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่กับเราไปนานๆนะคะ

สำหรับการเดินทางมาที่พิพิธภัณฑ์หว้อกอ ก็เดินทางไปตามถนนเพชรเกษม จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 335 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่บ้านหว้าโทน ขับตามทางเข้ามาอีกประมาณ 3.5 กิโลเมตร และข้ามทางรถไฟ เข้าสู่อุทยานได้เลย


เรียบเรียง BOMEBAMB