อยุธยา เชิญชวนไปทำบุญเสริมศิริมงคล ต้อนรับปีใหม่ 2565 ต้อนรับสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต

อยุธยา

อยุธยา เชิญชวนไปทำบุญเสริมศิริมงคล ต้อนรับปีใหม่ พ.ศ.2565 ต้อนรับสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต

อยุธยา เมืองเก่าของเราแต่ก่อน แอดมีสถานที่ทำบุญเสริมศิริมงคล ต้อนรับปีใหม่ 2565 มาแนะนำ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ได้ตื่นตา ตื่นใจกับ สถาปัตยกรรมวัดวาอาราม ที่ยังคงรักษาให้อยู่คู่บ้านคู่เมือง และได้อิ่มบุญ และที่สำคัญไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร อย่าง อยุธยา

เป็นเมืองที่ผู้คนต่างนิยมไปทำบุญ ไหว้พระขอพร เพราะที่อยุธยาเป็นเมืองเก่า ที่มีวัดมากมาย ผู้คนต่างๆชื่นชอบไปไหว้พระทำบุญ ก็อย่างที่ผู้คนชอบพูดว่า ไปไหว้พระ 5 วัด ที่อยุธยา วันนี้แอดมาบอก สถานที่คนนิยมไปขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัดที่ยอดนิยมใน อยุธยา นั้นได้แก่
1 วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
2 วัดท่าการ้อง
3 วัดใหญ่ชัยมงคล
4 วัดพนัญเชิงวรวิหาร
5 วัดพระศรีสรรเพชญ

เชิญชวนให้ไปทำบุญเสริมศิริมงคล ต้อนรับปีใหม่ 2565 ด้วยการทำบุญ ได้ทั้งไปเที่ยว ทั้งอิ่มบุญ ในวัดหยุดเทศกาลนี้ ครบจบในอยุธยา

วัดกษัตราธิราชวรวิหาร

1. วัดกษัตราธิราชวรวิหาร

วัดกษัตราธิราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอ พระนครศรีอยุธยา นอกเกาะเมืองทางทิศตะวันตก ตรงข้ามกับวังหลัง หรืออีกชื่อนึง เดิมชื่อ วัดกษัตรา หรือ วัดกษัตราราม วัดกษัตราธิราชวรวิหาร เป็นวัดโบราณเก่าแก่

ซึ่งถูกสร้างขึ้นสมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีพระปรางค์เป็นประธานของวัด ในยุคสมัยรัชกาลที่1 สถานที่สำคัญที่แอดอยากให้เพื่อนๆ ไปชื่นชม นั่นคือ พระประธานในพระอุโบสถที่ แท่นฐานผ้าทิพย์ปูนปั้น ฝีมือประณีต งดงาม ยังคงตรึงตาตรึงใจแอด

วัดท่าการ้อง

อยุธยา 2. วัดท่าการ้อง

วัดท่าการ้อง เป็นวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2092 พื้นที่ตั้งของวัดโดยรวมเป็นพื้นที่ราบ อยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับวัดธรรมาราม และวัดกษัตราธราช ตั้งอยู่ห่างจากเกาะเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร ตามบันทึกพระราชพงศาวดาร วัดท่าการ้อง

มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ ของกรุงศรีอยุธยาอย่างมากมาย เพราะถูกกล่าวในพระราชพงศาวดารหลายต่อหลายครั้ง ในคราวที่เกิดสงครามกับทางพม่า นำทับโดยพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้
วัดท่าการ้องเป็นที่ตั้งค่ายของชาวพม่า ที่มาทำศึกสงครามกับชาวไทย แอดเขียนมาถึงตรงนี้ ก็ได้ทำให้รู้สึกรำลึกถึง ความเสียสละของนักรบ วีรบุรุษ ที่พวกท่านมีความกล้าหาญชาญชัย ยอมเสียสละ ทำให้พี่น้องชาวไทย มีแผ่นดินอยู่อย่างสุขสบาย ตราบจนทุกวันนี้

วัดใหญ่ชัยมงคล

อยุธยา 3. วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคล ถูกสร้างขึ้นสมัย อยุธยาตอนต้น รัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดี ที่1 หรืออีก พระนามหนึ่งคือ สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้ง พ.ศ. 1900 สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ทรงกรุณาให้ขุดศพ เจ้าแก้ว กับเจ้าไท ทั้ง2 ได้เสียชีวิตด้วยโรค

อหิวาตกโรคขึ้นมาเผา และที่ปลงศพนั้น ทรงโปรดให้สถาปนา เป็นพระอารามนามว่า วัดป่าแก้ว ต่อมาคณะสงฆ์วัดป่าแก้ว ได้บวชเรียนมาจาก สำนักรัตนมหาเถระในประเทศศรีรังกา ได้เกิดความเคารพเลื่อมใสต่อชาวกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก

ทำให้มีผู้คนต่างมาบวชเรียนมากมาย สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้ เป็นสมเด็จพระวันรัตน์ กาลต่อมา เป็นที่พำนักของพระภิกษุ คณะป่าแก้ว ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัตน์เป็นประธานสงฆ์ จึงได้ชื่อว่า วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว

ต่อมาในยุคสมัยของพระนเรศวรมหาราช มีเหตุการณ์สำคัญ ที่ชวนให้เข้าใจว่า มีการสร้างปฏิสังขรณ์เจดีย์ประธานวัด เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศ ของพระองค์ที่ได้ชัยชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่า จึงทำให้เชื่อว่า เป็นที่มาของชื่อวัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคลถือว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์หลายยุคหลายสมัย เป็นวัดที่แอดแนะนำว่าต้องไปเที่ยวให้ได้นะเพื่อนๆ และมีความนิยมต่อนักท่องเที่ยว มาชมสถาปัตยกรรมที่สวยงามโดดเด่น ชื่นชมเจดีย์ที่สูงที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

และทางด้านหลังวัด ยังคงมีตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้คนที่นับถือศรัทธาเข้ามากราบไหว้ นอกจากนี้ ยังมีพื้นมี่ที่ที่ทำให้เพื่อนๆได้พักผ่อนหย่อนใจเป็น สวนหย่อม มองแล้วสบายตา เพื่อนๆสามารถ นั่งเล่น ถ่ายรูปเก็บไว้ชื่นชม อีกด้วย

วัดพนัญเชิงวรวิหาร

4. วัดพนัญเชิงวรวิหาร

วัดพนัญเชิง เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ก่อสร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และไม่ปรากฎหลักฐาน ว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง ตามหนังสือพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง เป็นผู้สร้าง และพระราชทานนามว่า วัดเจ้าพระนางเชิง และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า

ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวไว้ว่า ได้สถาปนา พระพุทธรูปพระเจ้าพแนงเชิง เมื่อปี พ.ศ.1876 ซึ่งก่อนพระเจ้าอู่ทองทรงจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี ต่อว่าถูกเรียกว่าวัดพนัญเชิงจนถึงทุกวันนี้ วัดพนัญเชิงก็ย่อมหมายถึง

วัดที่มีพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิคือหลวงพ่อโต หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก พระพุทธรูปศีลปะอู่ทอง ตอนปลาย เป็นพระรูปปั้นปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ วัสดุปูนปั้นลงรักปิดทอง ถือว่าเป็นพระโบราณคู่บ้านคู่เมืองกรุงศรีอยุธยามาแต่แรกสร้างกรุง

ในพระอุโบสถวัดพนัญเชิง มีพระพุทธรูปสำคัญ 3 องค์ คือ พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปปั้น พระพุทธรูปนาค เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก นอกจากหลวงพ่อโต และพระพุทธรูป 3 องค์ แล้วยังมี ศาลพระนางสร้อยดอกหมาก

หรือศาลเจ้าแม่แอเนี้ย อันเป็นอนุสรณ์แห่งความรักที่จบลงด้วยโศกนาฏกรรม จึงมีผู้คนมากมายต่างกราบไหว้สักการะขอพรในเรื่องความรัก จำนวนมาก ถ้าเพื่อนมาวัดพนัญเชิง อย่าลืมกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ครบทุกพระองค์นะคะ

วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา

5 วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดพระศรีสรรเพชญ์ หรือ วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นอดีตวัดหลวงประจำพระราชวังโบราณอยุธยา ตั้งอยู่ที่ทางทิศเหนือของวิหารดระมงคลบพิตรในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2035 โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 วัดพระศรีสรรเพชญ์

มีจุดที่น่าสนใจที่สำคัญคือ เจดีย์ทรงรังกา จำนวนสามองค์ องค์แรกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2035 เพื่อบรรจุอัฐิ ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระบิดา) ต่อมาในปี พ.ศ.2042 ก็ทรงสร้างองค์ต่อมา (องค์กลาง) ของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่3 (พระเชษฐาต่างพระมารดาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2)

และในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่4 ก็ทรงสร้างอีกองค์ให้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระปิตุลา (หรือพระเจ้าอา) รวมเป็นสามองค์ตามปัจจุบัน วัดนี้เป็นวันที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในปี พ.ศ.2043 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างพระวิหาร

ทรงหล่อพระพุทธรูปหุ้มด้วยทองคำ ประดิษฐานไว้ให้วิหาร วัดนี้ยังเคยถูกขุดพบสมบัติ จากกรุภายในเจดีย์ พบพระพุทธรูป เครื่องทอง มากมาย แอดอยากจะชวนเพื่อนๆ มาเดินชมพระเจดีย์สามองค์ ที่ตั้งตระหง่าน ได้ชื่นชมสถาปัตยกรรมสมัยก่อน

เป็นยังไงกันบ้างคะเพื่อนๆ แต่ละที่ถือว่าน่าสนใจมากเลยทีเดียว เหมาะแก่การไปกราบไหว้ ไปทำบุญเสริมศิริมงคล ต้อนรับปีใหม่ ปี พ.ศ. 2565 ต้อนรับสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิตอย่างยิ่ง

ทั้งนั้นทั้งนั้น อีกไม่กี่วันก็จะปีใหม่แล้ว เพื่อนๆ ก็อย่าลืมไป ไหว้พระ ทำบุญ เพื่อเสริมศิริมงคล ให้แก่ชีวิตตัวเองกันะคะ แอดว่าสายมูพลาดไม่ได้แล้ว

และเนื่องด้วยสถานการณ์ โควิด-19 เพื่อนๆก็อย่าลืมดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ ใส่หน้ากาก 2 ชั้น ล้างมือให้สะอาด พกเจลแอลกอฮอล์ไว้ล้างมือระหว่างทาง ล้างมือบ่อยๆ เพื่อสุขภาพที่ดี


เรียบเรียง BOMEBAMB